ตระกูล AGAVACEAE
ชื่อสามัญ Mather - in - law's Tongue
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ลักษณะทั่วไป
ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ
ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม
ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ
ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร
ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร
บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก
ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล
การปลูก
1.การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนนิยมปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวนแต่คนโบราณ
นิยมปลูกเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน : อัตรา 1 : 1
ผสมดินปลูก
2 การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-15 นิ้ว ใช้ปุ๋คอก หรือ ปุ๋ยหมัก
2 การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายในและภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-15 นิ้ว ใช้ปุ๋คอก หรือ ปุ๋ยหมัก
ดินร่วน อัตรา : 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุก 1-2 ปี เพราะเนื่องจากการขยายตัวของรากและหน่อแน่นเกินไป
และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธ์ แยกหน่อหรือตัดชำใบ
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหา
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน ดินร่วนซุย
ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
การขยายพันธ์ แยกหน่อหรือตัดชำใบ
โรคและแมลง ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น